บ้านสไตล์นอร์ดิก

Contents

บ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก สเปซพิเศษเพื่อความเป็นส่วนตัวดีไซน์และฟังก์ชันของบ้านนั้นมีความสำคัญก็จริง แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม นั่นคือ การจัดวางระดับความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน เพื่อให้การอยู่อาศัยตรงกับวิถีชีวิตมากที่สุด บางบ้านจะโชว์ในส่วนที่เปิดเผยได้ แต่บางบ้านก็มีมุมความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ค่อยอยากโชว์พื้นที่ข้างในก็จะต้องวางแผนว่า หากไม่เปิดจุดนี้มีจุดไหนที่เปิดได้เพื่อไม่ให้บ้านดูอึดอัดและขาดการติดต่อ

อย่างเช่นบ้านนี้ หากมองจากภายนอกจะเห็นเพียงเส้นสายบ้านหลังคาจั่วสูงสไตล์นอร์ดิก ไม่ได้ใส่ลูกเล่นอะไรมากมาย แต่เรื่องราวระหว่างการออกแบบทั้งความเป็นส่วนตัว การใส่ความแตกต่างอย่างง่าย ๆ เส้นสาย และสี ก็สร้างสเปซนี้ให้มีความพิเศษขึ้นมาได้เช่นกัน

บ้านของครอบครัวนี้ตั้งอยู่ระหว่างถนนที่พลุกพล่านและสวนสาธารณะที่ติดกับแม่น้ำไวกาโต ประเทศนิวซีแลนด์ จากหน้าถนนด้านทิศตะวันออก พื้นที่จะลาดลงไปทางสวนทิศตะวันตก เจ้าของบ้านที่ค่อนข้างรักความเป็นส่วนตัวจึงออกแบบบ้านให้ดูปิดจากสายตาเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ในลักษณะที่เป็นอาคารหลังคาจั่วสไตล์นอร์ดิก โชว์ความตัดต่างของสีผนังอิฐสีขาวในส่วนโรงจอดรถ และผนังไม้สีน้ำตาลในโซนใช้งานประจำวัน ในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างต่อมุมมองและปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในส่วนอื่นแทน คลิ๊กที่นี่

บ้านสไตล์นอร์ดิก

จากสวนสาธารณะมองเข้ามาที่ด้านข้างบ้าน จะเผยให้เห็นลักษณะบ้านหลังคาจั่ว 3 ส่วนที่ต่างสี ต่างความสูง และวัสดุ แต่เชื่อมต่อกันเป็นแถวยาว ส่วนที่สะดุดตาที่สุดอยู่ที่กระจกบานใหญ่มีกรอบสี่เหลี่ยมเหล็กเป็นซับวงกบยื่นออกมาให้เส้นสายตาชัดเจนทันสมัย และพื้นที่นั่งเล่นกลางแจ้งที่มีหลังคาคลุมเปิดพื้นที่ใช้สอยออกสู่พื้นที่สีเขียวในบ้านให้ต่อเนื่องลื่นไหล ด้านนี้จึงดูเปิดออกมากกว่าอีกด้านแ ต่ยังคงรักษาระดับความเป็นส่วนตัวของบ้านเอาไว้ในส่วนที่ต้องการ

จากประตูทางเข้าจะนำมาสู่บ้านสองชั้น ที่จัดแบบ open plan และรายล้อมด้วยผนังกระจก บ้านจึงเต็มไปด้วยความโปร่งและสว่าง แต่กระจกที่เลือกใช้เป็นแบบติดฟิล์มที่มองทะลุได้ด้านเดียว คนที่อยู่ภายนอกจะมองไม่เห็นภายในบ้าน จึงใช้ชีวิตได้แบบไม่ต้องกังวลสายตา ในส่วนชั้นล่างจะเป็น Public Zone พื้นที่ใช้งานสาธารณะที่มีความเคลื่อนไหวมากทั้งวัน ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น ครัว โต๊ะทานข้าว ที่วางเฟอร์นิเจอร์เรียงกันไปแบบไม่มีผนังกั้น สามารถเข้าถึงกันได้หมด ส่วนชั้นบนจะจัดวางห้องนอนซึ่งเป็น Private Zone ที่ไม่ต้องการความพลุกพล่าน เหมาะสำหรับพักผ่อนยามค่ำคืน

มุมนั่งเล่นที่จัดให้อยู่ในระดับต่ำลงไปเป็นเหมือนหลุมที่อบอุ่น ล้อมรอบด้วยชุดโซฟาสีเขียวกำมะหยี่หนานุ่ม อีกด้านหนึ่งเป็นม้านั่งไม้บิลท์อินวางเบาะยาวเอาไว้เป็นเบย์วินโดว์ที่ชวนให้มานั่งริมหน้าต่าง วิธีการแยกฟังก์ชันแบบนี้ให้ความเป็นสัดเป็นส่วนโดยที่ไม่ต้องก่อผนังกั้นให้เสียพื้นที่ และยังทำให้บ้านดูน่าสนุกขึ้นด้วย

ประตูด้านข้างของครัว เป็นบานสไลด์กระจกเปิดออกเชื่อมต่อมายังพื้นที่นั่งเล่นบริเวณเฉลียงไม้มีหลังคาคลุม ระบบหลังคาเปิดและปิดได้ตามสภาพอากาศ ความต่อเนื่องลื่นไหลระหว่างภายในกับภายนอกนี้ทำให้สมาชิกในบ้านออกมาใช้งานส่วนกลางแจ้งมากขึ้น จากจุดนี้จะเห็นว่ามีวิวที่หันหน้าออกไปที่สวนสาธารณะของเมือง เป็นที่มาของการสร้างพื้นที่เปิดให้บ้านมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกได้เต็มที่

เพราะความหลงใหลในแสงธรรมชาติ จึงตกแต่งบ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก

การแต่งบ้านที่กำลังเป็นที่ชื่นชอบของคนยุคใหม่ คงต้องยกให้สไตล์โมเดิร์นมินิมอล มูจิ และสไตล์นอร์ดิกที่มีความคล้ายแต่ในรายละเอียดมีความต่างอย่างบ้าง สำหรับบ้านในไต้หวันหลังนี้ เจ้าของบ้านคือคุณหยู ซึ่งเคยอาศัยอยู่ที่นี่กับปู่ย่าตายายและครอบครัวในวัยเด็ก จึงเป็นที่ซึ่งเต็มไปด้วยความทรงจำที่สวยงาม หลายปีผ่านไป คุณหยูตัดสินใจย้ายกลับมาอยู่บ้านนี้พร้อมกับแม่และภรรยา หลังจากทีมงานสถาปนิกพูดคุยกับทั้งคู่และสังเกตสภาพแวดล้อมทั้งหมด ก็ได้จุดสำคัญสามประการที่ผู้อยู่ต้องการ คือ  สไตล์สแกนดิเนเวีย ฟังก์ชั่นการจัดเก็บ และแสงธรรมชาติ

บ้านพื้นที่ใช้สอย 105 ตารางเมตร ขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และห้องโถงใหญ่สำหรับใช้งานส่วนรวมกว้าง ๆ นี้ เกิดขึ้นจากโจทย์ที่ครอบครัว Yu ต้องการตกแต่งใหม่ตามสุนทรียศาสตร์แบบนอร์ดิก การตกแต่งภายในส่วนใหญ่จึงเน้นด้วยโทนสีอ่อน อาทิ ผนังสีขาว ไม้โอ๊คและไม้บีชนวล ๆ ที่ให้สีและลวดลายตามธรรมชาติ ตู้สีเทาอ่อน  เบาะหนังสีส้มอิฐ เป็นต้น หลังจากกลับบ้านสามชิกก็สามารถเพลิดเพลินกับการทำอาหารและจิบไวน์สักแก้ว หรือเอนตัวนอนบนโซฟาปรนเปรอตัวเองด้วยแสงแดดสาดส่องอ่อนๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์

สำหรับบ้านที่มีอายุมากกว่า 30 ปี สิ่งที่อาคารเก่าแก่ของไต้หวันส่วนใหญ่ขาดไปคือแสงธรรมชาติ นักออกแบบจึงแก้ไขด้วยการเจาะช่องหน้าต่างยาวติดผ้าม่านสีขาวสั้น ๆ พอดีความสูงหน้าต่างทำให้บ้านสว่างขึ้นมาก ซึ่งแสงก็เป็นหนึ่งหัวใจของบ้านนอร์ดิกที่ขาดไม่ได้เช่นกัน พื้นที่ข้างหน้าต่างใส่สเต็ปยกขึ้นไปสองระดับ ทำพื้นที่นั่งเล่นแสนผ่อนคลาย  ในขณะเดียวกันก็เพิ่มบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาด้วยสีสันที่สดใสของต้นไม้ โคมไฟ และเก้าอี้

เมื่อพิจารณาว่าบ้านขนาด 105 ตร.ม. จะเป็นบ้านสำหรับครอบครัวสามคนและลูกๆ ในอนาคต การจัดเก็บเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องวางแผนอย่างรอบคอบและครอบคลุม นักออกแบบจึงใช้พื้นที่ในแนวตั้งบิลท์ซ่อนช่องเก็บของเอาไว้ โดยเพิ่มความสูงของพื้นที่นี้พร้อมกับออกแบบชิ้นส่วนกลไกบางอย่าง เพื่อสร้างช่องวทางพิเศษที่ช่วยให้การเก็บสิ่งของประจำวัน (แม้แต่โต๊ะไพ่นกกระจอก) เอาไว้โดยไม่มีใครเห็น

การจัดพื้นที่แปลนในบ้านในส่วนของบริเวณใช้งานส่วนรวม คือ ห้องนั่งเล่น พื้นที่ทานอาหาร และครัว ต่อเนื่องกันโดยไม่มีผนังกั้น แบบ open plan ทำให้บ้านเป็นโถงขนาดใหญ่ ด้านหนึ่งของบ้านที่เป็นพื้นที่วางโซฟาพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งครอบครัวมักใช้เวลาว่าง หากมีคนพักค้างคืน สามารถกั้นพื้นที่นี้ให้กลายเป็นห้องพักขนาดเล็กได้ในทันที

สำหรับคนรักครัวการได้เป็นเจ้าของครัวที่ถูกใจ ทำให้ทุก ๆ วันที่บ้านเต็มไปด้วยความสุข ภรรยาคุณหยูก็ฝันถึงการทำขนมและทำอาหารในครัวที่มีอุปกรณ์ครบครันมาหลายปีแล้ว สถาปนิกเองก็ให้ความสำคัญมากเพราะต้องการให้บริเวณห้องอาหารเชื่อมโยงทุกคนในบ้านเข้าไว้ด้วยกัน ในห้องครัวนี้จะต่างจากครัวทั่ว ๆ ไปตรงที่ไม่มีโต๊ะรับประทานอาหาร แต่มีไอส์แลนด์ขนาดใหญ่ยาวประมาณ 240 ซม.

ที่ใช้สำหรับเรียมอาหาร ทานอาหาร หรือแม้กระทั่งใช้นั่งทำงาน และทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกัน ตรงตามความคาดหวังที่ทุกคนอยากจะได้ในบ้านพื้นที่น้อยที่อยากให้ดูกว้าง สามารถใช้แนวคิดการออกแบบผังภายในบ้านให้มีความโปร่งโล่ง ด้วยการจัดวางพื้นที่ให้เปิดเชื่อมต่อแบบไร้ผนังกั้น ที่เรียกว่า open plan ซึ่งจะรวมพื้นที่ใช้สอยส่วนต่างๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน โดยใช้ตัวเฟอร์นิเจอร์แต่ละชุดเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้งานแต่ละโซนเช่น ในพื้นที่หนึ่งวางชุดโซฟาสำหรับนั่งเล่น ถัดไปเป็นโต๊ะทานอาหาร และครัว ไม่ต้องก่อผนังแยกเป็นห้อง ๆ เพื่อสร้างสเปซขนาดใหญ่ เชื่อมต่อทุกมุมมองอย่างต่อเนื่องและลื่นไหล

สไตล์นอร์ดิกคืออะไร

ตกแต่งบ้าน

นอร์ดิก (Nordics) เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป อาทิ เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, นอร์เวย์และสวีเดน ดินแดนแถบนี้มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น รวมถึงเรื่องดีไซน์และสถาปัตยกรรมด้วย โดยเฉพาะรูปแบบอันโดดเด่นอย่างบ้านสไตล์ Modern Barn ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโรงนาหรือยุ้งฉางของเกษตรกรในแถบนั้น ภายในเน้นการเปิดพื้นที่ให้แสงสว่างส่องเข้ามาอย่างอบอุ่น ทำให้บ้านดูมีสุขภาพดี

“หลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก” การออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

เทรนด์ในการสร้างบ้านแต่ละยุคมักมีแนวคิดหรือปรัชญาบางอย่างซ่อนอยู่ ในแบบบ้านญี่ปุ่นยุคใหม่จะแทรกแนวคิด “วาบิซาบิ” ซึ่งเป็นการออกแบบตกแต่งบ้านที่เน้นความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การไม่ปรุงแต่ง และความไม่สมบูรณ์แบบต่าง ๆ ส่วนซีกโลกทางยุโรปมีฐานความคิดที่คล้ายกันอยู่ในวัฒนธรรมสวีเดนผ่านคำว่า “Lagom ärbäst”

หมายความว่า ไม่มากไม่น้อยหรือความพอดีนั้นดีที่สุด ปรับเปลี่ยนรายละเอียดที่ซับซ้อนให้เรียบง่ายตามจังหวะของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงรูปแบบการสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิกหรือสแกนดิเนเวียน ซึ่งเป็นเทรนด์การดีไซน์บ้านจากเขตหนาวที่กำลังเป็นที่นิยมแม้แต่ในโซนเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเราด้วย

แต่แม้บ้านสไตล์นอร์ดิกจะมีดีไซน์ดูสวยงามเรียบง่าย ปราศจากเส้นสายให้รู้สึกรกรุงรัง แต่สำหรับในแง่ของการก่อสร้างนั้นกลับมีองค์ประกอบสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการบ้านสไตล์นอร์ดิกที่สวยสมบูรณ์แบบ และสามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะตามมาภายหลัง

อย่างการเลือก “หลังคาบ้าน” ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะหลังคาคือส่วนที่ปกป้องคุ้มกันบ้านทั้งหลัง ในขณะที่ด้านดีไซน์ หลังคาไม่ต่างจากมงกุฎของบ้านที่สะท้อนสไตล์ให้เห็นตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอก ดังนั้นหากต้องการบ้านสไตล์นอร์ดิกที่ตอบโจทย์ทั้งด้านดีไซน์มินิมอล และการใช้งานที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง วันนี้เราเลยขอมาเล่าสู่กันฟังกับ 4 ข้อควรระวังเรื่องหลังคาทั้งด้านการออกแบบและการติดตั้งที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม ซึ่งหากเราใส่ใจรายละเอียดทั้งการติดตั้ง จุดเสี่ยง และการออกแบบตั้งแต่เริ่มต้นก่อสร้าง รับรองว่าคุณจะได้บ้านสไตล์นอร์ดิกที่สวยตรงใจไร้ปัญหาแน่นอน

ตกแต่งบ้าน

1. สร้างความกลมกลืนกับบริบทแวดล้อม ด้วยหลังคาโทนสีธรรมชาติ

เพราะเอกลักษณ์สำคัญของการออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกคือ การเลือกใช้โทนสีธรรมชาติเป็นหลัก กลุ่มสีเอิร์ธโทนจึงเป็นสีหลังคาที่สไตล์นอร์ดิกนิยม เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกถึงความอบอุ่นและผ่อนคลาย สำคัญคือควรเลือกใช้กระเบื้องหลังคาที่มีสีสันดูกลมกลืนไปกับบริบทของธรรมชาติและเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทานควบคู่กัน

2. หลังคาแผ่นเรียบ ตอบโจทย์เส้นสายสะอาดตา

การลดทอนความยุ่งเหยิงให้ได้ความสบายตาและรู้สึกผ่อนคลาย ถือเป็นอีกหนึ่งในหลักการสำคัญของการออกแบบสไตล์นอร์ดิก การเลือกหลังคาจึงควรพิจารณาเป็นหลังคาแผ่นเรียบ เพื่อให้ตอบโจทย์องค์ประกอบการใช้เส้นสายที่เรียบง่าย สบายตาของ Nordic House Style ได้ตั้งแต่แรกเห็น

3. หลังคาจั่วสูง ไร้ชายคา สะท้อนจิตวิญญาณของธรรมชาติ

เนื่องจากสภาพอากาศในเขตสแกนดิเนเวียนเป็นอากาศที่หนาวเย็นจัด การออกแบบที่ไม่มีชายคาจึงช่วยลดการสะสมของหิมะบนหลังคาได้ดี ซึ่งนั่นจึงทำให้เราพบเห็นหลังคาสไตล์นอร์ดิกมีลักษณะเป็นทรงจั่วสามเหลี่ยมอยู่เสมอ โดยตัวหลังคาลาดจากมุมสูงลงมาเป็นส่วนเดียวกับผนังและไม่มีชายคายื่นออกมา หรืออาจยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย และนั่นทำให้สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านสไตล์นอร์ดิกท่านหนึ่งได้ระบุไว้ถึงรูปลักษณ์โดยรวมของหลังคาว่าเป็นรูปแบบของหลังคาที่สะท้อนจิตวิญญาณธรรมชาติ เส้นสายของภูเขา และเหลี่ยมไม้ได้อย่างงดงาม

4. ใส่ใจตั้งแต่รายละเอียดการติดตั้ง เพื่อไม่ให้บ้านสไตล์นอร์ดิกมีปัญหาภายหลัง

แม้หลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก ดูเผินๆ จะเป็นหลังคารูปทรงมาตรฐาน เน้นเส้นสายเรียบง่ายและเป็นทรงเรขาคณิตที่ไม่ซับซ้อน แต่การติดตั้งหลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิกก็มีข้อควรระวังที่ต้องใส่ใจ หรือควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาดูแลโดยตรง เนื่องจากถ้าให้ช่างที่ขาดประสบการณ์มาติดตั้ง อาจมีปัญหาตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อ จุดชนผนัง และสันหลังคา ซึ่งข้อควรระวังเรื่องการติดตั้งเบื้องต้น มีดัง

การตกแต่งปั้นลมด้านหน้าด้วยเหล็ก C-Channel 22.3 x 300 x 1.2 ซม.

หลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิกที่โดดเด่นเรื่องการเป็นหลังคาไร้ชายคา อาจนำไปสู่ปัญหาการรั่วซึมของน้ำฝนบริเวณชายคาย้อนเข้าสู่ตัวบ้าน รวมถึงปัญหาคราบสกปรกสะสมจากน้ำฝนบริเวณผนัง ดังนั้นเราควรใส่ใจตั้งแต่กระบวนการติดตั้งเพื่อให้บ้านสไตล์นอร์ดิกออกมาสวยสมบูรณ์แบบและป้องกันการรั่วซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตกแต่งปั้นลมด้านหน้าด้วยเหล็ก ถือเป็นอีกวิธีป้องกันน้ำซึมผ่านเข้าสู่โครงสร้าง โดยปั้นลมนั้นนอกจากช่วยกันลมปะทะกับกระเบื้องหลังคาแล้ว ยังทำหน้าที่ป้องกันน้ำฝนเข้าสู่ตัวบ้านอีกด้วย