แบบบ้านชั้นเดียว หน้าแคบหลังลึก

Contents

แบบบ้านชั้นเดียว หน้าแคบหลังลึก

แบบบ้านชั้นเดียว หน้าแคบหลังลึก

แบบบ้านชั้นเดียว หน้าแคบหลังลึก ตอนที่เห็นรูปทรงและขนาดของที่ดิน เจ้าของบ้านอาจต้องกุมขมับ ด้วยลักษณะที่แคบและลึก การออกแบบบ้านจึงมีข้อจำกัดในเรื่องแสงและลม แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เจ้าของบ้านหลังนี้ถอดใจ หมดความหวังในการสร้างบ้าน  เพราะรู้ดีว่าหากมีสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบบ้านหน้าแคบมาช่วยในการเติมเต็มความฝัน ลักษณะของที่ดินก็ไม่ใช่อุปสรรคต่อการอยู่อาศัยแต่อย่างแน่นอน

ขนาดของที่ดินแปลงนี้ประมาณ 7 x 20 เมตร สถาปนิกได้ออกแบบขนาดความกว้างของตัวบ้านไว้ประมาณ 5 เมตร ซึ่งเท่ากับบ้านทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์ทั่วไป โดยได้ทำการจัดผังไว้ให้เหมาะกับบ้านชั้นเดียวอย่างที่เจ้าของบ้านต้องการ เริ่มจากกำแพงบ้านดีไซน์ให้มีทั้งส่วนที่โปร่งและทึบอย่างสมดุล จึงทำให้มีแสงและลมลอดผ่านเข้าสู่บริเวณบ้านได้ง่าย

อิฐบล็อกช่องลมสีขาว ตัดกับประตูสีดำที่ออกแบบเป็นเส้นระแนงแนวตั้ง ทำการติดตั้งโคมไฟไว้ตรงประตู แสงสว่างที่ส่องลงมายามค่ำคืน สร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยมากขึ้น ส่วนกำแพงด้านขวามือได้ทำการก่อผนังทึบ เนื่องจากติดกับที่ดินว่าง จึงต้องการความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวมากเป็นพิเศษ คลิ๊กที่นี่

ที่ดินหน้าแคบ แต่ภายในบ้านชั้นเดียวสุดโปร่ง

แบบบ้านชั้นเดียว หน้าแคบหลังลึก

ถนนด้านหน้าบ้านเป็นทางสัญจรของรถ สถาปนิกจึงทำการเว้นระยะร่นของตัวบ้านให้ลึกลงไปอีกหน่อย เพื่อป้องกันเสียงรบกวน ป้องกันฝุ่นและไม่เป็นที่สะดุดตาต่อผู้คนมากเกินไป จากกำแพงด้านหน้าไปจนถึงประตูบ้าน ทำการจัดแต่งสวนระดับแนวราบ เป็นสวนหย่อมที่ชวนให้เพลิดเพลินตลอดเส้นทาง

ตัวบ้านมีการยกพื้นขึ้นจากระดับดินเล็กน้อย โดยไล่สเต็ปด้วยบันได 5 ขั้น ส่วนหลังคาตรงชายคาหน้าบ้าน ได้ใช้วัสดุเหล็กฉลุลายใบไม้ นำชิงช้าทรงกลมมาวางเป็นมุมเล็ก ๆ ไว้นั่งเล่นพักผ่อนก่อนที่จะเข้าสู่พื้นที่พักผ่อนอย่างแท้จริงภายในบ้าน Luxury Villa

ต้อนรับด้วยมุมนั่งเล่นหรือมุมรับแขก ตกแต่งอย่างเรียบง่าย คุมธีมด้วยสีเทา ขาวและน้ำตาล เน้นไปในโทนสว่างเพื่อช่วยเพิ่มความกว้างทางสายตาให้แก่บ้านหน้าแคบมากยิ่งขึ้น โซฟาหนังขนาดใหญ่ รองรับการใช้งานได้ 3-4 คน ปูพรมผืนใหญ่นุ่ม ๆ และวางโต๊ะกลางทอปลายหินอ่อน ส่วนทีวีได้ติดยึดเข้ากับผนัง ทำให้ไม่ต้องบิลท์อินชั้นวางทีวีขนาดใหญ่ เพราะอาจสร้างความคับแคบให้พื้นที่มากกว่าเดิม

ผู้ออกแบบทำการแก้โจทย์เรื่องช่องแสงภายในบ้านได้อย่างยอดเยี่ยม ตรงผนังตรงกลางบ้านทำการเปิดช่องแสงจากบนหลังคา แสงธรรมชาติที่ส่องลงมาทั้งกลางวันและกลางคืนกระจายไปยังห้องครัวและห้องนั่งเล่นได้อย่างทั่วถึง

กระจกลวดลายใบไม้ สื่อสารถึงความเป็นธรรมชาติที่สัมพันธ์กันกับสวนหย่อมที่จัดเอาไว้ มิติของสวนครอบคลุมทุกด้าน ทั้งสวนแนวราบพื้นดิน เลือกไม้คลุมดิน อย่างมอสมาช่วยเติมความชุ่มชื้น ปลูกไม้โขดในระดับที่สูงขึ้นมา และติดกระถางต้นไม้บนผนังเพื่อเติมเต็มความเขียวขจี

แบบบ้านชั้นเดียว หน้าแคบหลังลึก

ครัวค่อนข้างกว้างขวางใช้งานได้จริง บิลท์อินเคาน์เตอร์เป็นรูปตัว L หน้าบานปิดไฮกลอสให้ความเงางาม เลือกที่จะไม่ใช้มือจับบนตู้ เพราะไม่ต้องการให้มีวัสดุใดมาทำลายความเรียบง่ายสบายตาของเฟอร์นิเจอร์พื้นที่ส่วนรวมใช้กระเบื้องในการปูพื้นเป็นหลัก ง่ายต่อการดูแลทำความสะอาด แต่จะเลือกลวกลายที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของพื้นที่เป็นหลัก เช่น พื้นหน้าห้องน้ำรวม ปูด้วยกระเบื้องหกเหลี่ยมสีขาวเทา เปื้อนก็ไม่เครียด เลอะก็ไม่ต้องกังวล

ห้องนอนภายในบ้านมีทั้งหมด 3 ห้องนอนด้วยกัน แต่ละห้องมีขนาดไม่ได้แตกต่างกันมาก ตกแต่งให้มีความอบอุ่นและสงบด้วยสีสันโทนสุขุม ปูพื้นด้วยวัสดุลายไม้ได้ความรู้สึกที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และทำการบิลท์อินม้านั่งติดหน้าต่างหรือ Bay Window เป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจสำหรับเจ้าของห้อง

มุมทำงานหรือเขียนหนังสือ ออกแบบไว้รองรับกับไลฟ์สไตล์ในยุคปัจจุบัน ที่ในบางช่วงอาจต้องทำงานหรือเรียนที่บ้าน พ่อแม่และลูก ๆ จึงมีมุมส่วนตัวที่ไม่ต้องรบกวนพื้นที่ส่วนรวม ทั้งยังมีสมาธิเพราะไม่มีใครมารบกวนอีกด้วย

บ้านส่วนใหญ่มักออกแบบอ่างล้างมือไว้ในห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำรวมหรือห้องน้ำส่วนตัวในห้องนอนก็ตาม แต่บ้านหลังนี้ได้ทำการออกแบบให้อ่างล้างมืออยู่ด้านหน้าห้องน้ำรวม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานได้ยุคที่ต้องล้างมือบ่อย ๆ โดยเลือกใช้อ่างล้างมือแบบตั้งพื้นรูปทรงรีสีขาว โรยพื้นรอบ ๆ ด้วยหินกรวดสีขาว ป้องกันน้ำกระเซ็น และได้ทำการก่ออิฐบล็อกช่องลมเพื่อพรางสายตา ให้มุมล้างมือมีความสวยงามอยู่เสมอ

บ้านทรงลึก ดีไซน์ให้ดูกว้างได้แม้แคบ 5 เมตร

บ้านทรงลึก

ที่ดินที่สร้างความหนักใจให้กับสถาปนิกในการทำงานออกแบบ มีหลากหลายรูปแบบ แต่หนึ่งในนั้นอาจจะมีที่ดินทรงแคบและลึกรวมอยู่ด้วย เพราะข้อจำกัดในเรื่องของการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้ดูไม่แคบ ยิ่งหากเป็นบ้านที่ผนังติด ๆ กับบ้านอื่นทั้งสองด้านจะทำให้เปิดรับแสงและลมได้เพียงด้านหัวและท้ายเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

การมองหาช่องทางเปิดบ้านจึงเป็นเรื่องต้องผ่านไปให้ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้เราว่าไม่ค่อยยากแล้ว เพราะมีผลงานการออกแบบบ้านหน้าแคบลึกมาให้เก็บไว้เป็นแรงบันดาลใจเรื่อย ๆ อย่างเช่นบ้านหลังนี้ในเวียดนามก็มีสิ่งที่น่าสนใจคือการสร้างช่องเปิดรับแสงและลมที่ขจัดข้อจำกัดของที่ดินและทำให้บ้านดูกว้างขึ้น

บ้านทรงกล่องที่โปร่งและสว่าง

บ้านหน้าแคบ 5×20 แบบโมเดิร์นในเวียดนามออกแบบโดยสถาปนิก IZarch ที่วางแนวคิดการเปิดช่องว่างในบ้านทุกชั้นให้รับลมและอากาศใหม่ ๆ เข้ามาระบายอากาศร้อนที่รุนแรงไม่แพ้บ้านเรา แต่ยังมีจุดรับแสงสว่างไม่ให้บ้านมืด และยังสร้างจุดโฟกัสสายตาที่หลังคาแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ตรงกลางโปร่ง ๆ สามารถแสงได้จากด้านบน และมีระบบไหลเวียนของน้ำใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดการจัดแปลนภายในบ้านบ้านหน้าลึกไม่มีหน้าต่างด้านข้าง

บ้านทรงลึก

จะต้องการความรู้สึกกว้างมากเป็นพิเศษ หากเข้าบ้านมาแล้วพบกับผนังกั้นแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อย มีที่ว่างตรงทางเดินและโถงบันไดจุดเดียวยิ่งทำให้บ้านแคบอึดอัดและมืด สถาปนิกจึงสร้างความลื่นไหลของพื้นที่โดยจัดบ้านแบบ Open plan คือไม่มีผนังแบ่งกั้นระหว่างฟังก์ชัน ห้องนั่งเล่น ครัว ห้องทานข้าว ที่วางเรียงต่อกันไปโดยใช้ตัวเฟอร์นิเจอร์เองเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตการใช้งาน วิธีนี้จะพรางตาให้บ้านดูกว้างและใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น

ในบ้านหน้าแคบลึกสิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดจะเป็นการรับแสงสว่าง ซึ่งการออกแบบบ้านทั่วไปจะมีช่องแสงที่ผนังด้านหน้าและด้านข้าง แต่บ้านหน้าลึกที่มีผนังติดกับบ้านข้าง ๆ จะไม่สามารถใส่ช่องแสงด้านข้างได้ ทำให้แสงไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบริเวณโซนกลางอาคาร จึงต้องหาช่องทางรับแสงอื่น ๆ เช่น การใส่ Skylight รับแสงจากด้านบนในตำแหน่งที่ต้องการแสง โดย

ทำหลังคาแยกเป็นสองส่วนให้มีพื้นที่ว่าง ภายในบ้านเจาะโถงสูง Double Space สร้างความต่อเนื่องในแนวตั้ง จากนั้นใส่ช่องแสงด้านบนให้แสงธรรมชาติส่องกระจายลงมาถึงข้างล่างบริเวณกลางบ้านพอดีบ้านกล่องสูงพื้นที่น้อยขาดพื้นที่ทำสวนจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพียงทำคอร์ทอยู่ตรงกลางบ้านแล้วจัดสวนปลูกต้นไม้กลางบ้าน หรือทำสวนเล็ก ๆ แทรกด้านหลัง-ด้านหน้าในบริเวณที่สร้างความผ่อนคลายและเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในบ้านได้อย่างลงตัว

การออกแบบให้โปร่ง ๆ เต็มไปด้วยแสงในจุดที่บ้านต้องการ จำเป็นต้องใช้วัสดุกระจกเข้ามาเป็นตัวกลางในการรับแสงให้ทะลุผ่าน ซึ่งความใสของกกระจกจะช่วยเบลอขอบเขตระหว่างภายในภายนอกจนดูเหมือนไม่มีผนัง จึงอาจส่งผลให้ความเป็นส่วนตัวหายไปและไม่ค่อยปลอดภัย ปัญหานี้แก้ได้ไม่ยาก เช่น การเพิ่มฉาก ระแนงไม้ หรือ facade

(เปลือกภายนอกอาการ) จากบล็อกช่องลม แผ่นเหล็กเจาะรูที่แข็งแรงแต่มีความโปร่งมาปิดกั้นเพิ่มความเป็นส่วนตัว ทำให้สามารถเปิดรับทั้งแสงและลมธรรมชาติได้อย่างผ่อนคลายได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย

ห้องนอนที่แสนสบายด้วยบรรยากาศที่ล้อมไปด้วยงานไม้ชวนให้อบอุ่น ผนังกระจกอีกด้านเชื่อมต่อกับห้องน้ำและมุมนั่งเล่นกึ่งกลางแจ้งส่วนตัว ทำให้ทุกครั้งที่เข้านอนเหมือนนอนอยู่ท่ามกลางสวน พร้อมต้อนรับวันใหม่อย่างสดชื่น

การเพิ่มแสงกลางอาคารเป็นหัวใจสำคัญในบ้านที่มีตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป โดยเฉพาะบ้านตึกหรือทาวน์เฮาส์ที่ผนังถูกขนาบ 2 ด้าน และบ้านที่มีความลึกค่อนข้างมาก ทำให้แสงธรรมชาติจากด้านหน้า-ด้านหลังกระจายเข้าไปไม่ถึงตรงกลาง

การเจาะเพดานออกบางส่วนแล้วใส่ Skylight หรือวัสดุโปร่งแสงบนหลังคา จะช่วยดึงแสงเข้าสู่ภายในจากด้านบน ซึ่งเทคนิคนี้สามารถใช้ร่วมกับ โถงบันได ทางเดิน ห้องน้ำกึ่ง Outdoor และห้องนอน แต่ต้องระวังเรื่องความร้อนด้วย จึงควรต้องเลือกกระจกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแสง UV และกันความร้อนได้ เพื่อให้บ้านได้รับแสงสว่าง แต่ไม่นำพาความร้อน

หน้าบ้านลึกและแคบดีจริงหรือ

ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจศึกษาฮวงจุ้ยกันมากขึ้น ทั้งที่ศึกษาอย่างเอาจริงเอาจังตามสำนักสอนวิชาฮวงจุ้ยต่างๆ และศึกษาแบบงูๆปลาๆ อ่านตำราที่ขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งเดี๋ยวนี้ดูจะหาซื้อกันได้ง่าย บางครั้งเมื่อเชิญซินแส ฮวงจุ้ยไปดูบ้านก็มักจะเถียงแบบข้างๆคูๆว่าตำราเขียนไว้อย่างนี้ ทำ ไมซินแสถึงดูต่าง เถียงกันมากเข้าก็กลายเป็นว่าซินแสคนนั้นนอกคอกนอกครูไป เรื่องหนึ่งที่อยากหยิบมาเป็นประเด็นในตอนนี้คือ

หน้าบ้านแคบหรือกว้างดี ซึ่งเถียงกันบ่อยมาก ในตำราศาสตร์ฮวงจุ้ยกล่าวไว้ว่า บ้านที่อยู่แล้วร่ำรวย หน้าบ้านต้องแคบ หลังบ้านต้องกว้าง บ้านแบบนี้เรียกว่าบ้านถุงเงินหรือบ้านรับทรัพย์ แต่หากบ้านหลังไหนด้านหน้ากว้าง ด้านหลังแคบ บ้านนั้น จะมีปัญหาเก็บทรัพย์ไว้ไม่อยู่ เงินทองจะรั่วไหล ในศาสตร์ฮวงจุ้ยให้สมญานามบ้านแบบนี้ว่าบ้านถ่าย

บ้านทรงลึก

เททรัพย์แบบบ้าน คงต้องอธิบายให้ทราบเบื้องต้นถึงเหตุผลดังนี้ปกติแล้วบ้านในสมัยก่อนโดยเฉพาะในประเทศจีนส่วนใหญ่หน้าบ้านมักจะแคบ ด้านหลังจะกว้าง หากมองตามภูมิประเทศแล้วไม่น่าแปลกนัก เป็นการปลูกบ้านโดยยึดหลักของภูมิประเทศเป็นสำคัญ เพราะบ้านของชาวจีนแต่ครั้งโบราณเป็นครอบครัวใหญ่ อยู่ด้วยกันหลายครอบครัว

ดังนั้น จึงมักจะอยู่ร่วมกัน พื้นที่ในบ้านจึงต้องแยกย่อยออกไปตามพื้นที่ใช้สอย ชาวจีนแต่ครั้งบรรพกาลไม่นิยมสร้าง บ้านให้มีสัณฐานของบ้านลึกเข้าไปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมรูปโลง แต่จะสร้างให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู คือด้านหน้าแคบ ด้านหลังกว้าง หลังบ้านเป็นที่ใช้สอยหรืออยู่อาศัย หน้าบ้านดัดแปลงเป็นร้านค้าหรือที่รับแขก

เหตุนี้หากมองให้ดีจะพบว่าเป็นเรื่องของประโยชน์ในการใช้ สอยมากกว่า คือหลังบ้านกว้างหน่อยจะได้ใช้อยู่อาศัยสำหรับลูกหลานที่ออกเรือนไปแล้ว และแม้ ว่าจะออกเรือนไปแล้วแต่ตามธรรมเนียมเจ้าสาวก็ต้องมาอยู่บ้านเจ้าบ่าว ดังนั้น เมื่อออกเรือนเพียงแค่สร้างบ้านแยกออกไปในพื้นที่ใกล้ๆบ้านเท่านั้นเอง โดยธรรมเนียมจีนแล้วไม่นิยมให้ลูกหลานแยกออกไปอยู่ไกลหูไกลตาเหมือนที่ฝรั่งปฏิบัติกัน

แต่หากมองในแง่ของฮวงจุ้ยประกอบจะพบว่าศาสตร์ฮวงจุ้ยให้ความสำคัญกับเรื่องทิศอิงหรือทิศหลังบ้าน ดังนั้น บ้านที่ด้านหลังมีพื้นที่มากๆ จึงมีโอกาสได้รับพลังงานที่ดีทางฮวงจุ้ย แน่นอนว่าการสร้างบ้านของชาวจีนโบราณจะสร้างให้หันหน้าชนกัน มีพื้นที่ทางเดินของพลังชวี่อยู่ตรงกลาง เพื่อให้พลังชวี่ถ่ายเทได้สะดวก อ่านเพิ่มเติม

ประกอบกับหากพลังทิศหน้าบ้านที่หันไปหากไม่ได้รับพลังที่ดีทางฮวงจุ้ยอาจตกต้องทิศอสูรร้าย ทิศโทษภัย ทิศโหงวกุ๊ย-ห้าผี ทิศสูญสิ้น ก็ยังสามารถปลูกบ้านให้หันไปในทิศทางที่ดีส่งเสริมได้ ดังนั้น บ้านของใครที่หน้าบ้านแคบ หลังบ้านกว้าง หากได้รับพลังงานจากพลังดาวยุค ไม่ว่าจะ 60 ปี คือสามพลังยุคฮวงจุ้ย หรือพลังทิศที่ดีเพียงแค่ 20 ปีก็ตาม